ข้อมูลรายได้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ประกอบด้วย
1) รายได้ที่ อปท. จัดเก็บเองประกอบด้วยรายได้ที่ได้จากภาษีอากรและรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร
โดยแบ่งเป็น
- รายได้ที่ได้จากภาษีอากร ได้แก่ อากรรังนกอีแอ่น ภาษีบ ารุง อบจ.จากยาสูบ และน้ ามัน
และค่าธรรมเนียมบ ารุง อบจ. จากผู้เข้าพักในโรงแรม
- รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ใบอนุญาต รายได้จากทรัพย์สิน รายได้
จากสาธารณูปโภค รายได้เบ็ดเตล็ด และรายได้จากทุน
2) รายได้จากการจัดสรรภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บและแบ่งให้ ได้แก่ ภาษีค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดสรรตาม พรบ. อบจ. ร้อยละ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดสรรให้ตาม พรบ. ก าหนดแผนฯ
ค่าภาคหลวงแร่ และค่าภาคหลวงปิโตรเลียม
3) เงินอุดหนุน เป็นเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ อบจ. แบ่งเป็น เงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
4) รายรับจากเงินสะสม หมายถึง การน าเงินสะสมของ อบจ. มาใช้จ่ายโดย ไม่ต้องตั้งเงิน
งบประมาณมาใช้คืนเงินที่ใช้จ่ายไป (การจ่ายขาดเงินสะสม) โดยมีระเบียบระบุไว้ให้สามารถใช้ในเรื่องใดบ้าง
และต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่ควบคุม การจ่ายขาดเงินสะสมจะใช้ในเวลาที่มีเหตุจ าเป็น เช่น
เมื่อได้รับรายได้ประจ าที่ล่าช้า เกิด อุทกภัย หรือมีภารกิจเร่งด่วน
เงินสะสม หมายถึง เงินที่เหลือจ่ายจากเงินรับจริงตามงบประมาณรายจ่ายประจ าปี หรืองบประมาณ
รายจ่ายเพิ่มเติมเมื่อวันสิ้นปีและรวมกับเงินเหลือจ่ายปีก่อนๆ
5) เงินกู้ หมายถึง เงินกู้หรือเงินอื่นใดที่ อบจ. กู้มาเพื่อใช้จ่ายในการด าเนินงานปกติทั่วไป หรือเป็น
เงินใช้ปรับสภาพคล่องในการด าเนินงาน ทั้งนี้การกู้ระยะสั้นหรือระยะยาวขึ้นอยู่กับฐานะการเงินของ อบจ.
นั้นๆ โดยการกู้มีเงื่อนไขก าหนดให้ต้องตั้งในงบประมาณรายจ่ายประจ าปี ส าหรับแหล่งเงินกู้ของ อบจ.
ได้แก่ กองทุนเงินสะสมองค์การบริหารส่วนจังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และเงินกู้อื่นๆ
- ปี 2551-2554 รายได้ อบจ. จ านวน 75 แห่ง
- ปี 2555-2561 รายได้ อบจ. จ านวน 76 แห่ง